วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

การออกแบบการเรียนการสอน
              ความหมายของระบบ
                 มีผู้ให้ความหมายขอคำว่า ระบบ” (system) ไว้หลายคน เช่น บานาธี่ (Banathy, 1968)
            หรือ วอง (Wong, 1971) บานาธี่ ได้ให้ความหมายของคำว่าระบบว่า ระบบ หมายถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งองค์ประกอบทั้งหลายเหล่านี้จะร่วมกันทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ความหมายของระบบตามแนวทางของวองก็จะมีลักษณะแนวทางใกล้เคียงกับของบานาธี่ โดยวองให้ความหมายของระบบวา ระบบ หมายถึง การรวมกลุ่มของส่วนประกอบต่างๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้จากความหมายข้างต้น สามารถสรุปได้ว่าระบบจะต้องมี

1. องค์ประกอบ
2. องค์ประกอบนั้นต้องมีความสัมพันธ์ มีการโต้ตอบ มีปฏิสัมพันธ์กันและ
3. ระบบต้องมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ
         
                    ปัญหาในระบบการเรียนการสอน
....เป้าหมายหลักของครูหรือนักฝึกอบรมในการสอน คือการช่วยให้ผู้เขียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้ และในการช่วยให้เกิดการเรียนรู้นี้มีปัญหาหลัก ๆ อยู่หลายประการที่ผู้ออกแบบการเรียนการสอนจะต้องตระหนักและพยายามหลีกเลี่ยง ปัญหาดังกล่าวคือ
.....1. ปัญหาด้านทิศทาง (Direction)
.....2. ปัญหาด้านการวัดผล (Evaluation)
.....3. ปัญหาด้านเนื้อหาและการลำดับเนื้อหา (Content and Sequence)
.....4. ปัญหาด้านวิธีการ (Method)
.....5. ปัญหาข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraint)

ปัญหาด้านทิศทาง
.....ปัญหาด้านทิศทางของผู้เรียนก็คือ ผู้เรียนไม่ทราบว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร ไม่รู้ว่าจะต้องเรียนอะไร
ต้องสนใจจุดไหน สรุปแล้วพูดไว้ว่าเป็นปัญหาด้านจุดมุ่งหมาย
-                  ปัญหาด้านการวัดผล
.....ปัญหาการวัดผลนี้จะเกิดขึ้นกับทั้งผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะมีปัญหา เช่น จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนของตนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ จะรู้ได้อย่างไรว่าวิธีการที่ตนใช้อยู่นั้นใช้ได้ผลดี ถ้าจะปรับปรุงเนื้อหาที่สอนจะปรับปรุงตรงไหน จะให้คะแนนอย่างยุติธรรมได้อย่างไร
ปัญหาของผู้เรียนเกี่ยวกับการวัดผลอาจเป็น ฉันเรียนรู้อะไรบ้างจากสิ่งนี้ ข้อสอบยากเกินไป ข้อสอบกำกวม อื่น ๆ

- ปัญหาด้านเนื้อหา และการลำดับเนื้อหา
.. ปัญหานี้เกิดขึ้นกับครูและผู้เรียนเช่นเดี่ยวกัน ในส่วนของครูอาจจะสอนเนื้อหาที่ไม่ต่อเนื่องกัน เนื้อหายากเกินไป เนื้อหาไม่ตรงกับจุดมุ่งหมาย เนื้อหาไม่สัมพันธ์กัน และอื่น ๆ อีกมากมาย ในส่วนของผู้เรียนก็จะเกิดปัญหาเช่นเดี่ยวกับที่กล่าวข้างต้นอันเป็นผลมาจากครู อาจเป็นการสอนหรือวิธีการสอนของครูทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่าย ไม่อยากเข้าห้องเรียน มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียนสิ่งนั้น ๆ หรือปัญหาการสอนที่ไม่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ตั้งเอาไว้ เช่น ตั้งเป้าหมายไว้ว่าให้ผู้เรียนสามารถใช้กล้องถ่ายวิดีโอได้อย่างชำนาญ แต่วิธีสอนกลับบรรยายให้ฟังเฉย ๆ และผู้เรียนไม่มีสิทธิจับกล้องเลย เป็นต้น

- ปัญหาข้อจำจัดต่าง ๆ
.....ในการสอนหรือการฝึกอบรมนั้นต้องใช้แหล่งทรัพยากร 3 ลักษณะ คือ บุคลากร ครูผู้สอน และสถาบันต่าง ๆ บุคลาการที่ว่านี้อาจจะเป็นวิทยากร ผู้ช่วยเหลือต่าง ๆ เช่น พนักงานพิมพ์ ผู้ควบคุมเครื่องไม้เครื่องมือ หรืออื่น ๆ
.....สถาบันต่าง ๆ หมายถึง แหล่งที่เป็นความรู้ แหล่งที่จะให้ความร่วมมือสนับสนุนต่าง ๆ อาจเป็นห้องสมุด หน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้น

ความสำคัญของ  การออกแบบการเรียนการสอน
องค์ประกกอบของการออกแบบการเรียนการสอน
.....ดังได้กล่าวข้างต้นว่า การออกแบบการเรียนการสอนให้หลักการแนวทางของระบบ ดังนั้นในการออกแบบการเรียนการสอนจึงประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ได้ และในกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนก็จะมีกลไกในการปรับปรุงแก้ไขตัวเอง อันได้แก่ กระบวนการใช้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) จากการประเมินผลที่เรียกว่า การประเมินผลเพื่อการปรับปรุง (formative evaluation)
เนื่องจากมีรูปแบบ (Model) สำหรับนำไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนอยู่มากมายจึงมีความหลากหลายในองค์ประกอบในรูปแบบนั้น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม รูปแบบการเรียนการสอนใด ๆ ก็จะยึดแนวทางของรูปแบบดั้งเดิม (generic model)

     รูปแบบดั้งเดิม (Generic model)
.....1. การวิเคราะห์ (Analysis)
.....2. การออกแบบ (Design)
.....3. การพัฒนา (Development)
.....4. การนำไปใช้ (Implementation)
.....5. การประเมินผล (Evaluation)
.....จากรูปแบบดังเดิม (Generic model) นี้จะมีผู้รู้ต่าง ๆ นำไปสังเคราะห์เป็นรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ตามความเชื่อความต้องการของตน

รูปแบบต่าง ๆ ของการออกแบบการเรียนการสอน
....ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างรูปแบบการเรียนการสอนที่มีผู้คิดสร้างขึ้นเพื่อให้เห็นองค์ประกอบ รายละเอียดโดยสังเขปและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ

รูปแบบการสอนของดิคค์และคาเรย์ (Dick and Carey model)
.....รูปแบบการสอน (Model) ของดิคค์และคาเรย์ ประกอบด้วยองค์ประกอบด้วย 10 ขั้นด้วยกัน คือ
.........1. การกำหนดเป้าหมายของการเรียนการสอน (Identify Instructional Goals)
.........2. ดำเนินการวิเคราะห์การเรียนการสอน (Conduct Instructional Analysis)
.........3. กำหนดพฤติกรรมก่อนเรียนและลักษณะผู้เรียน (Identify Entry Behaviors, Characteristics)
.........4. เขียนจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม (Write Performance Objective)
.........5. พัฒนาข้อสอบอิงเกณฑ์ (Develop Criterion - Referenced Test Items)
.........6. พัฒนายุทธวิธีการสอน (Develop Instructional Strategies) .........7. พัฒนาและเลือกวัสดุการเรียนการสอน (Develop and Select Instructional Materials)
.........8. ออกแบบและดำเนินการประเมินเพื่อการปรับปรุง (Design and Conduct Formative Evaluation)
.........9. การปรับปรุงการสอน (Revise Instruction)
.........10. การออกแบบและดำเนินการประเมินระบบการสอน (Design and Conduct Summative E valuation)
       ........ระบบการสอนของเกอร์ลาชและอีลาย (Gerlach and Ely Model) เกอร์ลาชและอีลายเสนอรูปแบบการออกแบบการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบ 10 อย่างด้วยกันคือ
............1.การกำหนด เป็นการกำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนรู้อะไร แค่ไหน อย่างไร
............2. การกำหนดเนื้อหา (Specify Content) เป็นการกำหนดว่าผู้เรียนต้องเรียนอะไรบ้างในอันที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
............3. การวิเคราะห์ประสบการณ์เดิมของผู้เรียน (Analyze Learner Background Knowledge) เพื่อทราบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียน
............4. เลือกวิธีสอน (Select Teaching Method) ทำการเลือกวิธีสอนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย
............5. กำหนดขนาดของกลุ่ม (Determine Group Size) เลือกว่าจะสอนเป็นกลุ่มย่อยหรือกลุ่มใหญ่อย่างไร
............6. กำหนดเวลา (Time Allocation) กำหนดว่าจะใช้เวลาในการสอนมากน้อยเพียงใด
............7. กำหนดสถานที่ เครื่องอำนวยความสะดวก (Specify Setting and Facilities) กำหนดว่าจะสอนที่ไหน ต้องเตรียมอะไรบ้าง
............8. เลือกแหล่งวิชาการ (Select Learning Resources) ต้องใช้สื่ออะไร อย่างไร
............9. ประเมินผล (Evaluation) ดูว่าการสอนเป็นไปตามจุดมุ่งหมายหรือไม่
............10. วิเคราะห์ข้อมูลป้อนกลับเพื่อการปรับปรุงแก้ไข (Analyze Feedback for Revision) เป็นการวิเคราะห์ว่าถ้าการสอนไม่ได้ผลตามจุดมุ่งหมายจะทำการปรับปรุงแก้ไขตรงไหนอย่างไร


การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
.....การวิเคราะห์ระบบ คือ กระบวนการศึกษาขอบข่าย (Network) ของปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ในระบบ เพื่อจะเสนอแนวทางในการดำเนินการเพื่อปรับปรุงการทำงานของระบบนั้น ๆ (Semprevivo , 1982)
.....ในการออกแบบการเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการสอนของใครก็ตาม จะมีกลไกหรือมี ข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ระบบอยู่แล้ว ข้อมูลดังกล่าวคือ ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ต่าง ๆ การที่ระบบการสอนมีองค์ประกอบให้เห็นอย่างชัดเจนและแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ ต่าง ๆ อย่างชัดเจน จะช่วยให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ว่าปัญหาระบบเกิดจากอะไร
.....การดำเนินการวิเคราะห์ระบบในรูปแบบ (Model) การสอนต่าง ๆ นั้นทำได้ง่ายเพราะมีผู้จัดสร้างกลไกและจัดหาข้อมูลเตรียมไว้ให้แล้ว แต่ถ้าจะดำเนินการวิเคราะห์ระบบอื่นใดที่นอกเหนือไปจากนี้แล้วกระบวนการคิดวิเคราะห์ก็จะต้องมีรายละเอียดและกระบวนการเพิ่มมากขึ้น ในที่นี้จะขอเสนอแนวทางในการวิเคราะห์ระบบสำหรับระบบโดยทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่ระบบการเรียนการสอน ในการวิเคราะห์ระบบจะประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เป็นวงจรชีวิต (Life cycle) ดังต่อไปนี้ คือ
............1. การกำหนดปัญหา (Problem definition)
............2. การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล (Data collection and analysis)
............3. การวิเคราะห์ทางเลือกของระบบ (Analysis of system alternatives)
............4. ศึกษาความเป็นไปได้ของทางเลือก (Determination 0f feasibility)
............5. การพัฒนาแนวคิดเพื่อเสนอขอความคิดเห็น (Development 0f the systems proposal)
............6. การพัฒนาและทดลองใช้ต้นแบบ (Pilot of prototype systems development)
............7. การออกแบบระบบ (System design)
............8. การพัฒนาโปรแกรม (Program development)
............9. การนำระบบใหม่เข้าไปใช้ (System implementation)
............10. การตรวจสอบและการประเมินระบบ (Systems implementation)

.....กิจกรรมทั้ง 10 นี้ ปกติแล้วจะไม่สามารถดำเนินการในลักษณะที่แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดได้
เพราะในลักษณะการทำงานจริง กิจกรรมเหล่านี้จะมี่ความเกี่ยวโยงกันจนแยกไม่ออก ย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า กระบวนการวิเคราะห์ระบบทั้ง 10 นี้ ข้อที่กล่าวมาข้างต้นใช้สำหรับการ วิเคราะห์ระบบที่นอกเหนือจากระบบการเรียนการสอน ทั้งนี้เนื่องจากระบบการเรียนการสอนนั้นได้สร้างกลไกและข้อมูลสำหรับตรวจสอบแก้ไขระบบอยู่ในตัวแล้ว วิธีการเชิงระบบในการออกแบบการเรียนการสอน โดย ผศ.ดร.รสสุคนธ์ มกรมณี
.....ในการดำเนินภารกิจการสอน ครูจะต้องมีการวางแผนจัดการเรียนรู้และตั้งวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้นั้นๆ ให้ดีเสียก่อน เพื่อเป็นข้อมูลในเตรียมเนื้อหาบทเรียนและวิธีการสอนที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์คือการที่ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การจัดระบบการเรียนการสอนคือกระบวนการที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้สอนว่าจะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ และถ้าหากมีปัญหาหรือความผิดพลาดเกิดขึ้น ก็จะสามารถแก้ไขได้ตรงจุด การเรียนการสอนจึงมีการพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมายหลักของการจัดระบบการเรียนการสอนมี 2 ประการคือ
..........1. เพื่อจัดกระบวนการเรียนการสอนให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน โดยใช้วิธีการต่างๆ ในการเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด
..........2. เพื่อออกแบบระบบการเรียนการสอน โดยใช้วิธีการที่เป็นระบบในการออกแบบ การวางแผน การนำไปใช้ และการประเมินกระบวนการทั้งหมดของระบบการสอนนั้น
ระบบการเรียนการสอนต้องอาศัยองค์ประกอบหลายส่วนมาร่วมกันทำงานให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม

การออกแบบระบบการสอนโดยใช้แบบจำลอง ADDIE
(Instructional System Design (ISD): Using the ADDIE Model)
การวิเคราะห์(Analysis)
            ขั้นตอนการวิเคราะห์เป็นรากฐานสำหรับขั้นตอนการออกแบบการสอนขั้นตอนอื่นๆ   ในระหว่างขั้นตอนนี้ คุณจะต้องระบุปัญหา, ระบุแหล่งของปัญหา         และวินิจฉัยคำตอบที่ทำได้    ขั้นตอนนี้อาจประกอบด้วยเทคนิคการวินิจฉัยเฉพาะ  เช่น   การวิเคราะห์ความต้องการ(ความจำเป็น) , การวิเคราะห์งาน, การวิเคราะห์ภารกิจ    ผลลัพธ์ของขั้นตอนนี้มักประกอบด้วย เป้าหมาย (goal),  และรายการภารกิจที่จะสอน  ผลลัพธ์เหล่านี้จะถูกนำเข้าไปยังขั้นตอนการออกแบบต่อไป

การออกแบบ (Design)
          ขั้นตอนการออกแบบเกี่ยวข้องกับการใช้ผลลัพธ์จากขั้นตอนการวิเคราะห์ เพื่อวางแผนกลยุทธ์สำหรับพัฒนาการสอนในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องกำหนดโครงร่างวิธีการให้บรรลุถึงเป้าหมายการสอน  ซึ่งได้รับการวินิจฉัยในระหว่างขั้นตอนการวิเคราะห์ และขยายผลสารัตถะการสอน
องค์ประกอบบางประการของขั้นตอนการออกแบบอาจจะประกอบด้วยการเขียนรายละเอียดกลุ่มประชากรเป้าหมาย, การดำเนินการวิเคราะห์การเรียน,          การเขียนวัตถุประสงค์และข้อทดสอบ, เลือกระบบการนำส่ง และจัดลำดับขั้นตอนการสอน ผลลัพธ์ของขั้นตอนการออกแบบจะเป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับขั้นตอนการพัฒนาต่อไป

การพัฒนา (Development)
          ขั้นตอนการพัฒนาสร้างขึ้นบนบนขั้นตอนการวิเคราะห์และการออกแบบ จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือสร้างแผนการสอนและสื่อของบทเรียนในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องพัฒนาการสอนและสื่อทั้งหมดที่ใช้ในการสอน และเอกสารสนับสนุนต่างๆ สิ่งเหล่านี้อาจจะประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ (เช่น เครื่องมือสถานการณ์จำลอง) และซอฟต์แวร์ (เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน)
การดำเนินการให้เป็นผล (Implementation)

          ขั้นตอนการดำเนินการให้เป็นผล หมายถึงการนำส่งที่แท้จริงของการสอน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบชั้นเรียน หรือห้องทดลอง หรือรูปแบบใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานก็ตาม จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือการนำส่งการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  ขั้นตอนนี้จะต้องให้การส่งเสริมความเข้าใจของผู้เรียนในสารปัจจัยต่างๆ, สนับสนุนการเรียนรอบรู้ของผู้เรียนในวัตถุประสงค์ต่างๆและเป็นหลักประกันในการถ่ายโอนความรู้ของผู้เรียนจากสภาพแวดล้อมการเรียนไปยังการงานได้

การประเมินผล (Evaluation)

          ขั้นตอนนี้วัดผลประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอน  การประเมินผลเกิดขึ้นตลอดกระบวนการออกแบบการสอนทั้งหมด กล่าวคือ ภายในขั้นตอนต่างๆ      และระหว่างขั้นตอนต่างๆ และภายหลังการดำเนินการให้เป็นผลแล้ว   การประเมินผล    อาจจะเป็นการประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation) หรือการประเมินผลรวม (Summative evaluation)

          การประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation):
           ดำเนินการต่อเนื่องในภายในและระหว่างขั้นตอนต่างๆ จุดมุ่งหมายของการประเมินผลชนิดนี้ คือ  เพื่อปรับปรุงการสอนก่อนที่จะนำแบบฉบับขั้นสุดท้ายไปใช้ให้เป็นผล
 การประเมินผลรวม (Summative evaluation):
        โดยปกติเกิดขึ้นภายหลังการสอน เมื่อแบบฉบับขั้นสุดท้ายได้รับการดำเนินการใช้ให้เป็นผลแล้ว  การประเมินผลประเภทนี้จะประเมินประสิทธิผลการสอนทั้งหมด ข้อมูลจากการประเมินผลรวมโดยปกติมักจะถูกใช้เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการสอน  (เช่นจะซื้อชุดการสอนนั้นหรือไม่ หรือจะดำเนินการต่อไปหรือไม่)
                 

     ทฤษฎี​​​​​ การออกแบบระบบการเรียนการสอน​​​​​ (Instructional System Design : ISD)
ซึ่ง​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​เนื้อหาที่รายวิชา​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​นำ​​​​​​​​​เสนอ​​​​​​​​​ไว้​​​​​ ​​​​​ใน​​​​​​​​​สัปดาห์ที่​​​​​ 3 โดย​​​​​​​​​นำ​​​​​​​​​เสนอรูปแบบของระบบการเรียนการสอนมีหลายรูปแบบ​​​​​ แต่ละรูปแบบสรุป​​​​​​​​​แล้ว​​​​​ ​​​​​อยู่​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​กรอบของ​​​​​ ADDIE Model (Analysis, Design, Development, Implementation, Evaluation)
กระบวนการจัดการเรียนการสอน​​​​​​​​​โดย​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ตัว​​​​​ ​​​​​เมื่อ​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​รับมอบหมาย​​​​​​​​​จาก​​​​​​​​​ภาควิชา​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​รับผิดชอบสอน​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​รายวิชา​​​​​​​​​ใด​​​​​ ​​​​​ก็​​​​​​​​​จะวางแผนการสอน​​​​​ สิ่งแรกที่​​​​​​​​​ต้อง​​​​​​​​​ทำ​​​​​ ​(​​​​​เป็น​​​​​​​​​ข้อบังคับของฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัย) ​​​​​คือ​​​​​ ​​​​​ต้อง​​​​​​​​​ส่ง​​​​​ แนวการสอน​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​แผนการสอน​​​​​ (Course Syllabus) ตลอด​​​​​​​​​ทั้ง​​​​​​​​​ภาคเรียน​​​​​ ซึ่ง​​​​​​​​​อาจมีรายละ​​​​​​​​​เอียดที่​​​​​​​​​แตกต่าง​​​​​​​​​กัน​​​​​​​​​บ้าง​​​​​ ​​​​​ใน​​​​​​​​​แต่ละสถาบัน​​​​​ แต่​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​น่า​​​​​​​​​จะ​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​แผนการสอน​​​​​​​​​โดย​​​​​​​​​คร่าว​​​​​ ​​​​​ๆ ส่วน​​​​​​​​​ประกอบ​​​​​ ได้​​​​​​​​​แก่
ข้อมูลเกี่ยว​​​​​​​​​กับ​​​​​​​​​รายวิชา​​​​​ คำ​​​​​​​​​อธิบายรายวิชา จุดประสงค์​​​​​​​​​ทั่ว​​​​​​​​​ไป แผนการสอนแต่ละบท/สัปดาห์​​​​​ ​​​​​ที่ประกอบ​​​​​​​​​ด้วยจุดประสงค์​​​​​​​​​เชิงพฤติกรรม​​​​​ ​​​​​เนื้อหา​​​​​ (หัวเรื่องหลัก​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​หัวเรื่องรอง) กิจกรรม​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​วิธีการสอน สื่อการเรียนการสอน​​​​​ ชื่อตำ​​​​​​​​​รา​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​หนังสื่อที่​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​ประกอบ​​​​​ ​​​​​และ​​​​​ ​​​​​เกณฑ์การวัด​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เมินผล
       กระบวนการเขียนแผนการสอนนี้​​​​​ ผมคิดว่า​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​กระบวนการออกแบบระบบการเรียนการสอน ​​​​​เพียงแต่​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​แบ่งแยกขั้นตอน​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​ชัดเจน​​​​​ ​​​​​และ​​​​​​​​​บางขั้นตอน​​​​​​​​​ยัง​​​​​​​​​อาจ​​​​​​​​​จะ​​​​​​​​​ยัง​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​สมบูรณ์ ผมลองวิ​​​​​​​​​เคราะห์สิ่งที่ตนเองปฏิบัติหน้าที่​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​การสอนที่ผ่านมา​​​​​ เชื่อมโยง​​​​​​​​​กับ​​​​​​​​​ทฤษฎีการออกแบบระบบการเรียนการสอน พอสรุป​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​ดังนี้
1) การวิ​​​​​​​​​เคราะห์​​​​​ (Analysis) ใน​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เด็นต่าง​​​​​ ​​​​​ๆ​​​​​ ​​​​​ได้​​​​​​​​​แก่
- การวิ​​​​​​​​​เคราะห์​​​​​​​​​ความ​​​​​​​​​จำ​​​​​​​​​เป็น​​​​​ ​​​​​สำ​​​​​​​​​หรับวิชาที่จัด​​​​​​​​​ไว้​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​หลักสูตร​​​​​ ​​​​​และ​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​วิชาที่​​​​​​​​​เลือก​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​นักศึกษา​​​​​​​​​เรียน​​​​​ ​​​​​ส่วน​​​​​​​​​นี้คณะกรรมการบริหารหลักสูตร​​​​​ ​​​​​ได้​​​​​​​​​ทำ​​​​​​​​​การวิ​​​​​​​​​เคราะห์​​​​​​​​​ถึง​​​​​​​​​ความ​​​​​​​​​จำ​​​​​​​​​เป็น​​​​​ ​​​​​ด้วย​​​​​​​​​เหตุ​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ผล​​​​​ ​​​​​อาจมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตร​​​​​ ​​​​​คำ​​​​​​​​​อธิบายรายวิชา​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​ทันสมัยตาม​​​​​​​​​ความ​​​​​​​​​ก้าวหน้าทางวิชาการที่​​​​​​​​​เปลี่ยนไป
- การวิ​​​​​​​​​เคราะห์งาน​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​การเรียนการสอน ​​​​​ได้​​​​​​​​​แก่​​​​​ ​​​​​การวิ​​​​​​​​​เคราะห์​​​​​​​​​เนื้อหา​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​กิจกรรมต่าง​​​​​ ​​​​​ๆ​​​​​ ​​​​​ที่​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​สอน​​​​​​​​​ต้อง​​​​​​​​​ทำ​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​รายวิชา โดย​​​​​​​​​การแสดงหัวข้อเนื้อหาหลัก​​​​​ ​​​​​หัวเรื่องรอง​​​​​ ​​​​​โดย​​​​​​​​​ยึดกรอบคำ​​​​​​​​​อธิบายรายวิชา​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​หลัก
- การวิ​​​​​​​​​เคราะห์​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียน ​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​มักทำ​​​​​​​​​ด้วย​​​​​​​​​กระบวนการสั้น​​​​​ ​​​​​ๆ​​​​​ ​​​​​เช่น​​​​​ ​​​​​สอบถาม​​​​​​​​​ความ​​​​​​​​​รู้พื้นฐาน​​​​​ ​​​​​บางครั้งอาจมีการประ​​​​​​​​​เมินผลก่อนเรียน​​​​​ ​​​​​แต่​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​นำ​​​​​​​​​มา​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​โยชน์​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​การออกแบบการเรียนการสอน​​​​​​​​​เท่า​​​​​​​​​ไรนัก​​​​​ ​​​​​ทั้ง​​​​​​​​​ที่​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​สำ​​​​​​​​​คัญมาก​​​​​ ​​​​​ๆ​​​​​ ​​​​​ที่​​​​​​​​​จะ​​​​​​​​​ช่วย​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียนประสบ​​​​​​​​​ความ​​​​​​​​​สำ​​​​​​​​​เร็จทางการเรียน​​​​​ ​​​​​แต่​​​​​​​​​เนื่อง​​​​​​​​​จาก​​​​​​​​​มี​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียนจำ​​​​​​​​​นวนมาก​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ห้องเรียน​​​​​ ​​​​​ผู้​​​​​​​​​สอน​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​อาจออกแบบการสอน​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​เหมาะสม​​​​​​​​​กับ​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียน​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​รายบุคคล​​​​​​​​​ได้​​​​​ ​​​​​จึง​​​​​​​​​ออกแบบการสอน​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​เหมาะ​​​​​​​​​กับ​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียน​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ห้อง
- การวิ​​​​​​​​​เคราะห์วัตถุประสงค์ มีการวิ​​​​​​​​​เคราะห์วัตถุประสงค์​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​การเรียนการสอน​​​​​ ​​​​​โดย​​​​​​​​​แบ่ง​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​วัตถุประสงค์​​​​​​​​​ทั่ว​​​​​​​​​ไปของรายวิชา​​​​​ และ​​​​​​​​​วัตถุประสงค์​​​​​​​​​เชิงพฤติกรรม​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​แต่ละบท​​​​​
2) การออกแบบ (Design) คือ​​​​​ ​​​​​การออกแบบ​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ของ วัตถุประสงค์การสอนแต่ละบท​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​แต่ละสัปดาห์​​​​​ เน้นการพัฒนา​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียน​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​ครบ​​​​​​​​​ทั้ง​​​​​ 3 ด้าน​​​​​ ​​​​​คือ​​​​​ ​​​​​ด้านสติปัญญา​​​​​ (Cognitive) ด้านทักษะ​​​​​ (Psychomotor) และ​​​​​​​​​ด้านลักษณะนิสัย​​​​​ (Affective) ลำ​​​​​​​​​ดับเนื้อหา​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​การสอน ระบุวิธีสอน​​​​​​​​​หรือ
กลยุทธ์​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​การสอน​​​​​ ซึ่ง​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​ก็​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​วิธีการบรรยาย​​​​​ อภิปราย​​​​​ ​​​​​มอบหมายงาน​​​​​ ​(​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​ยัง​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​วิธี​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​สอน​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​ศูนย์กลาง) เลือกสื่อการสอน​​​​​ และ​​​​​​​​​กำ​​​​​​​​​หนดวิธีการประ​​​​​​​​​เมินผล​​​​​ ทั้ง​​​​​​​​​หมด​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​ออกแบบ​​​​​​​​​โดย​​​​​​​​​กำ​​​​​​​​​หนด​​​​​​​​​ไว้​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​แผนการสอน​​​​​​​​​แล้ว​​​​​ ​​​​​แต่​​​​​​​​​จะ​​​​​​​​​นำ​​​​​​​​​มา​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​ตามแผน​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​ทั้ง​​​​​​​​​หมด​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​นั้น​​​​​ ​​​​​บางครั้งมีข้อจำ​​​​​​​​​กัด​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​เรื่องของเวลา​​​​​ ​(​​​​​ถ้า​​​​​​​​​สอน​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ชั้นเรียนปกติ​​​​​ ​​​​​และ​​​​​​​​​มีนักศึกษากลุ่ม​​​​​​​​​ใหญ่)
3) การพัฒนา (Development) กระบวนการพัฒนา​​​​​ ​​​​​ได้​​​​​​​​​แก่​​​​​ ​​​​​การนำ​​​​​​​​​สิ่งที่คิด​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​ออกแบบ​​​​​​​​​ไว้​​​​​​​​​มา​​​​​​​​​ใช้​​​​​ ​​​​​ได้​​​​​​​​​แก่
- การพัฒนา​​​​​​​​​เนื้อหา กรณี​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​พัฒนาตำ​​​​​​​​​รา​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​เอกสารประกอบการสอนเอง​​​​​ ​​​​​ก็​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​วิธีการเลือกหนังสือ​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​ตำ​​​​​​​​​ราที่มี​​​​​​​​​เนื้อหาสอดคล้อง​​​​​​​​​กับ​​​​​​​​​สิ่งที่ออกแบบ​​​​​​​​​ไว้
- การพัฒนาสื่อ​​​​​ ที่​​​​​​​​​สามารถ​​​​​​​​​ทำ​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​ขณะนี้คือ​​​​​ ​​​​​สไลด์ประกอบการสอน​​​​​ ​​​​​เว็บไซต์​​​​​​​​​แหล่ง​​​​​​​​​ค้น​​​​​​​​​คว้า​​​​​​​​​เพิ่มเติม
- การประ​​​​​​​​​เมิน​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ขณะพัฒนา เป็น​​​​​​​​​กระบวนการที่สำ​​​​​​​​​คัญ ผู้​​​​​​​​​สอนมัก​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​ค่อย​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​นำ​​​​​​​​​มา​​​​​​​​​ใช้​​​​​ ​​​​​เพราะ​​​​​​​​​มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก​​​​​ ​​​​​อาจ​​​​​​​​​ต้อง​​​​​​​​​มี​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เชี่ยวชาญ​​​​​​​​​ช่วย​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เมินตรวจสอบ​​​​​ ​​​​​หรือ​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​กระบวนการวิจัยสื่อทำ​​​​​​​​​การหาประสิทธิภาพ​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ประสิทธิผลของสื่อ
4) การนำ​​​​​​​​​ไป​​​​​​​​​ใช้ (Implementation) คือ​​​​​ ​​​​​ขั้นตอนการนำ​​​​​​​​​แผนการสอนที่​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​วิ​​​​​​​​​เคราะห์​​​​​ ​​​​​ออกแบบ​​​​​ ​​​​​และ​​​​​​​​​พัฒนา​​​​​​​​​ไว้​​​​​​​​​ไป​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​สอนจริง​​​​​ ​​​​​โดย​​​​​​​​​พยายามดำ​​​​​​​​​เนินการตามแผนการสอน​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​ระบบการเรียนการสอนที่ออกแบบ​​​​​​​​​ไว้
5) การวัด​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เมินผล​​​​​ (Evaluation) กระบวนการวัด​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เมินผลการสอน ส่วน​​​​​​​​​ใหญ่​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​ขั้นตอนการวัด​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ประ​​​​​​​​​เมินผลเพื่อ​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​การตัดสิน​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียน​​​​​ (เพื่อตัดเกรด) คือ​​​​​ ​​​​​การสอบระหว่างเรียน​​​​​ ​​​​​การสอบปลายภาค​​​​​ ​​​​​การตรวจผลงาน​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​โครงการที่มอบหมาย ยัง​​​​​​​​​ไม่​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​เน้นกระบวนการวัดผลเพื่อปรับปรุง​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​เรียน​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ขณะ​​​​​​​​​เรียน​​​​​ ​​​​​ผมคิดว่า​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​กระบวนการที่สำ​​​​​​​​​คัญ​​​​​ ​​​​​เพราะ​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​การประ​​​​​​​​​เมินว่าระบบการเรียนการสอนของเราว่ามีประสิทธิภาพเพียง​​​​​​​​​ใด​​​​​ ​​​​​มีข้อบกพร่อง​​​​​​​​​หรือ​​​​​​​​​ไม่​​​​​ ​​​​​ต้อง​​​​​​​​​แก้​​​​​​​​​ไขปรับปรุง​​​​​​​​​ส่วน​​​​​​​​​ใด​​​​​ แต่กระบวนการดังกล่าว​​​​​ ​​​​​อาจทำ​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​ค่อนข้างยาก และ​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​สอน​​​​​​​​​ต้อง​​​​​​​​​ทุ่มเทเวลา​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​อย่างมาก
จาก​​​​​​​​​ประสบการณ์การสอน​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ระบบปกติที่กล่าวมา ผมคิดว่าหลายท่านที่​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​สอน​​​​​​​​​อยู่​​​​​ อาจมีกระบวนการคล้าย​​​​​​​​​กับ​​​​​​​​​ผม​​​​​ คือ​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​มีการออกแบบระบบการเรียนการสอน​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​รายวิชาที่รับผิดชอบ​​​​​​​​​ไว้​​​​​​​​​แล้ว​​​​​ ​​​​​โดย​​​​​​​​​มี​​​​​​​​​เครื่องมือที่สำ​​​​​​​​​คัญคือ​​​​​ แผนการสอน​​​​​ (Course Syllabus) หรือ​​​​​​​​​แนวการสอน
หลัง​​​​​​​​​จาก​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​ศึกษาทฤษฎีระบบการเรียนการสอนแต่ละ​​​​​​​​​แบบที่​​​​​​​​​เสนอเนื้อหา​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​สัปดาห์นี้​​​​​​​​​แล้ว​​​​​ ​​​​​ผมเองคิดว่า​​​​​​​​​จะ​​​​​​​​​นำ​​​​​​​​​ไปปรับปรุงขั้นตอนของการออกแบบระบบการเรียนการสอน​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​สมบูรณ์ยิ่งขึ้น​​​​​ ​​​​​โดย​​​​​​​​​นำ​​​​​​​​​ไป​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​กับ​​​​​ ระบบการเรียนการสอนแบบอี​​​​​​​​​เลิร์นนิ่ง ขณะนี้ผมเองกำ​​​​​​​​​ลังทดลอง​​​​​​​​​ใช้​​​​​ Moodle LMS เป็น​​​​​​​​​เครื่องมือ​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​การบริหารจัดการรายวิชา​​​​​​​​​อยู่​​​​​​​​​ครับ​​​​​
อีกประ​​​​​​​​​เด็นหนึ่งคือ ​​​​​การพัฒนาระบบการเรียนการสอน​​​​​ ​​​​​นั้น​​​​​ ​​​​​ผมคิดว่า​​​​​​​​​ผู้​​​​​​​​​สอน​​​​​​​​​ต้อง​​​​​​​​​ทุ่มเท​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​เหนื่อยมากขึ้นครับ​​​​​ ​​​​​ถ้า​​​​​​​​​จะ​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​ดีน่า​​​​​​​​​จะ ​​​​​พัฒนาระบบการเรียนการสอน​​​​​​​​​ให้​​​​​​​​​เป็น​​​​​​​​​ลักษณะงานวิจัยชั้นเรียน จะ​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​ทั้ง​​​​​​​​​ระบบการเรียนที่มีประสิทธิภาพ​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ได้​​​​​​​​​ผลงานวิจัย​​​​​​​​​ด้วย ซึ่ง​​​​​​​​​ผมเองกำ​​​​​​​​​ลังทำ​​​​​​​​​วิจัยเกี่ยว​​​​​​​​​กับ​​​​​​​​​ประสิทธิภาพ​​​​​​​​​และ​​​​​​​​​ผลสัมฤทธิ์ของการ​​​​​​​​​ใช้​​​​​​​​​ระบบอี​​​​​​​​​เลิร์นนิ่ง​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​การจัดการการเรียนการสอน​​​​​ ​​​​​สมาชิกท่าน​​​​​​​​​ใด​​​​​​​​​มีประสบการณ์​​​​​​​​​ใน​​​​​​​​​ด้านนี้​​​​​ ​​​​​ยินดี​​​​​​​​​แลกเปลี่ยนประสบการณ์​​​​​​​​​กัน​​​​​​​​​ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น